พฤติกรรมในการทำงาน รวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ ในการทำงานนั้นก็อาจจะส่งผลทำให้เราเกิดเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมก็ได้เหมือนกัน เพราะการที่เรานั่งทำงานอยู่ตลอดทั้งวันนั่งหลังค่อมบ้างจ้องหน้าจอเป็นระยะเวลายาวนานนั่งไม่เปลี่ยนท่าหรือไม่มีการขยับร่างกายแม้กระทั่งความเครียดที่เกิดจากการทำงานต่างๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ส่งผลทำให้เราป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้เหมือนกัน
โรคออฟฟิศซินโดรม office syndrome
โรคออฟฟิศซินโดรม คือ อาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืดต่างๆ ที่มาจากรูปแบบการทำงานที่มักจะมีการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน เช่น การนั่งพิมพ์งานตลอดทั้งวัน การนั่งหน้าจอเป็นระยะเวลายาวนาน โดยที่ไม่ไม่มีการขยับหรืออะไรเลย ก็อาจจะทำให้เราป่วยเป็นโรคนี้ได้ มันก็จะลุกลามและส่งผลทำให้เรามีอาการปวดเรื้อรัง มีอาการชาตามแขนหรือมือต่างๆ
ดังนั้นถ้าหากเรารู้ตัวว่าเราป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมก็ควรที่จะต้องรีบไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อที่จะได้ทำการรักษากันอย่างถูกต้องและถูกวิธีเพื่อที่เรานั้นจะได้ดูแลรักษาสุขภาพกันได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะการดูแลร่างกายของเราให้ดีที่สุดก็จะช่วยลดความเสี่ยงของอาการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้
แนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม
สำหรับอาการป่วยของโรคนี้นั้นแน่นอนเราก็จะมีอาการปวดเฉพาะส่วน เช่น คอ บ่า ไหล่ สะบัก ซึ่งก็จะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้างๆ ไม่สามารถที่จะระบุตำแหน่งได้โดยอาจจะมีอาการปวดร้าวไปที่บริเวณใกล้เคียงร่วมกันด้วย
ความรุนแรงของโรคนี้นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล บางคนก็เยอะบางคนก็น้อยบางคนก็รุนแรงมากถึงทรมานจนเดินไม่ได้ก็มีสำหรับการรักษานั้นแน่นอนก็อย่างที่บอกไป เราก็ควรที่จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะได้รักษาเรากันอย่างถูกต้องและถูกวิธี
การรักษาแต่ละคนนั้นก็จะมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไป เช่น บางคนก็ทายา บางคนก็กินยา หรือบางคนจะต้องนวดไทย ฝังเข็ม แต่ถ้าหากเราไม่อยากที่จะป่วยเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมได้นั้น สิ่งแรกเลยที่เราจะต้องทำให้ได้มากที่สุดก็คือการออกกำลังกายที่เหมาะสม
โดยจะต้องทำให้กล้ามเนื้อของเรานั้นมีความแข็งแรงให้ได้มากที่สุด ควรที่จะจริงจังกับการออกกำลังกายและใส่ใจอย่างสม่ำเสมอด้วย นอกจากนี้จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานเช่น นั่งทำงานในท่าที่สบาย มีการยืดเส้นยืดสายบ้าง
จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้งานกล้ามเนื้อให้เกิดความเหมาะสมให้ได้มากที่สุด ควรที่จะต้องปรับเปลี่ยนท่านั่งทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้เกิดความผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อได้นั่นเอง